พลิกตะแคง

พลิกตะแคง

พลิกตะแคงตัวและปรับเปลี่ยนท่าท่างจากท่านั่งหรือท่านอนเดิม ตั้งแต่ศีรษะจนถึงปลายเท้า อย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง
1. พลิกตะแคงตัว อย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง
1.1 ใช้ผ้ารองช่วยในการยกตัวขณะจัดท่าเคลื่อนย้าย หรือยกตัว โดยใช้มือสอดเข้าไปทีละส่วนในการจัดเปลี่ยนท่า โดยให้เลื่อนศีรษะและไหล่ก่อน เสร็จแล้วจึงเลื่อนลำตัว สะโพก และเท้า ใช้การยกตัวแทนการดึงลาก
1.2 ใช้หมอนใบเล็ก หรือหมอนสำหรับเด็กอ่อน วางรองบริเวณแขน ปุ่มกระดูก ข้อศอก และส้นเท้า
2.กรณีจัดท่านอนหงาย จะต้องจัดให้ผู้สูงอายุนอนหงายราบ หมอนหนุนรองศีรษะสูงไม่เกิน 30 องศา สะโพกงอเล็กน้อย เพื่อป้องกันการเลื่อนไหลตัวลงไปปลายเตียง
3.กรณีจัดท่านอนตะแคง จัดให้นอนตะแคงกึ่งหงายทำมุม 30 องศากับที่นอน ใช้หมอนรองคอตั้งแต่กระดูกสะบักไปจนถึงกระดูกกระเบนเหน็บ งอสะโพกด้านบนไปทางด้านหน้าเล็กน้อย และใช้หมอนสอดระหว่างขาทั้งสองข้างบริเวณหัวเข่า ป้องกันการหุบของข้อสะโพกและขาด้านหลังถูกกด หลีกเลี่ยงการนอนตะแคงทับด้านที่อ่อนแรงนานเกินกว่า 30 นาที
4.กรณีจัดท่านั่ง ต้องมีเบาะพิงหลังและรองก้น จัดเท้าให้สามารถวางบนที่รองเท้าหรือวางบนพื้นได้พอดี โดยที่ต้องระวังไม่ให้เข่ายกสูงหรือลอย และข้อสะโพกอยู่ในท่างอไม่เกิน 90 องศา
5.ถ้าไม่มีข้อจำกัด ให้จัดท่าศีรษะสูงอย่างน้อย 30-45 องศา ขณะป้อนอาหารทางปาก หรือให้อาหารทางสายยาง และหลังการป้อนอาหาร หรือให้อาหารทางสายยาง ให้นอนท่าศีรษะสูงอย่างน้อย 30-45 องศา ต่อเนื่องอีก 2 ชั่วโมง