ดูดเสมหะ
ดูดเสมหะ
การใช้เครื่องดูดเสมหะ การจัดท่า
1.ใช้เครื่องดูดเสมหะเมื่อหายใจลำบาก ใช้แรงในการหายใจมากขึ้น ไอบ่อย มีเสียงเสมหะ หรือก่อนให้อาหารทางสายยาง
กรณีไม่มีเครื่องดูดเสมหะ ให้ใช้ลูกยาง(แดง)ดูดเสมหะแทนได้
2.ตรวจสอบการทำงานของเครื่องดูดเสมหะให้พร้อมใช้งาน เตรียมอุปกรณ์ เช่น สายดูดเสมหะชนิดปลอดเชื้อ แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง สำลีชุบแอลกอฮอล์ 70 % คีมคีบสำลี ถุงมือยาง เป็นต้น
3.จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าศีรษะสูง 45 องศา
4.ล้างมือก่อนและหลังดูดเสมหะทุกครั้ง เช็ดข้อต่อด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ 70 % ก่อนปลดหรือเชื่อมต่อ และล้างสายเครื่องดูดเสมหะโดยวิธีดูดน้ำสะอาดหลังดูดเสมหะเสร็จ
5.ดูดเสมหะโดยใช้ความดัน 100 - 120 มม.ปรอท โดยดูดเสมหะครั้งละไม่เกิน 10 - 15 วินาที ไม่เกิน 3 ครั้ง/รอบ ถ้ายังมีเสมหะค้างอยู่ให้พักประมาณ 5-10 นาทีก่อนเริ่มดูดเสมหะรอบใหม่
6.หากระหว่างการดูดเสมหะ สายดูดเสมหะไปสัมผัสกับร่างกายส่วนอื่นหรือสิ่งของรอบตัว ให้ทำการเปลี่ยนสายใหม่ทันที และถ้ามีเสมหะเปื้อนบริเวณแผลเจาะคอมาก ควรทำความสะอาดแผลเจาะคอใหม่หลังดูดเสร็จ
กรณีไม่มีเครื่องดูดเสมหะ ให้ใช้ลูกยาง(แดง)ดูดเสมหะแทนได้
2.ตรวจสอบการทำงานของเครื่องดูดเสมหะให้พร้อมใช้งาน เตรียมอุปกรณ์ เช่น สายดูดเสมหะชนิดปลอดเชื้อ แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง สำลีชุบแอลกอฮอล์ 70 % คีมคีบสำลี ถุงมือยาง เป็นต้น
3.จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าศีรษะสูง 45 องศา
4.ล้างมือก่อนและหลังดูดเสมหะทุกครั้ง เช็ดข้อต่อด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ 70 % ก่อนปลดหรือเชื่อมต่อ และล้างสายเครื่องดูดเสมหะโดยวิธีดูดน้ำสะอาดหลังดูดเสมหะเสร็จ
5.ดูดเสมหะโดยใช้ความดัน 100 - 120 มม.ปรอท โดยดูดเสมหะครั้งละไม่เกิน 10 - 15 วินาที ไม่เกิน 3 ครั้ง/รอบ ถ้ายังมีเสมหะค้างอยู่ให้พักประมาณ 5-10 นาทีก่อนเริ่มดูดเสมหะรอบใหม่
6.หากระหว่างการดูดเสมหะ สายดูดเสมหะไปสัมผัสกับร่างกายส่วนอื่นหรือสิ่งของรอบตัว ให้ทำการเปลี่ยนสายใหม่ทันที และถ้ามีเสมหะเปื้อนบริเวณแผลเจาะคอมาก ควรทำความสะอาดแผลเจาะคอใหม่หลังดูดเสร็จ
imed version 2.1.01 release 2022-07-24. ช่วยเหลือ